ถอดบทความเนื้อหาหนังสือ: การวางแผนและบริหาร VAT รู้ซึ้ง รู้ทัน เพื่อสร้างกำไร - อ.ดำริ ดวงนภา
ถอดบทความเนื้อหาหนังสือ: การวางแผนและบริหาร VAT รู้ซึ้ง รู้ทัน เพื่อสร้างกำไร - อ.ดำริ ดวงนภา
ถอดบทความ Podcast ในคืนวันที่ 2 กันยายน 2566 กับหนังสือเขียนโดย อ.ดำริ ดวงนภา "การวางแผนและบริหาร VAT รู้ซึ้ง รู้ทัน เพื่อสร้างกำไร: Secrets & Strategies" จัดพิมพ์โดย มาร์เก็ตติ้งกูรู & อมรินทร์พับลิชชิ่ง
ในช่วงนาทีที่ 0:00 - 6:27
00:00 การวางแผนและบริหาร VAT รู้ซึ้ง รู้ทัน เพื่อสร้างกำไร
02:40 บทที่ 1 รู้ทันแนวคิดและปรัชญาของ VAT
02:50 หัวข้อที่ 1 : ความสำเร็จในการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม
04:16 หัวข้อที่ 2 : กำเนิดภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย
06:27 หัวข้อที่ 3 : รู้จักคำว่าภาษี และประเภทของภาษี
ท่านที่สนใจสามารถคลิ้กฟัง Podcast ได้ที่นี่ค่ะ
หนังสือ: การวางแผนและบริหาร VAT รู้ซึ้ง รู้ทัน เพื่อสร้างกำไร - อ.ดำริ ดวงนภา
บทที่ 1 รู้ทันแนวคิดและปรัชญาของ VAT
1.ความสำเร็จในการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลักการทั่วไปในการวางแผนภาษี ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีประเภทใดก็ตาม ที่เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มนักบริหารภาษี ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการวางแผนจัดการด้านทรัพย์สิน การวางแผนการลงทุน การวางแผนด้านรายรับ และวางแผนรายจ่าย รวมถึงการวางแผนต้นทุน และกำไร ส่วนวิธีปฏิบัติในการวางแผนในปัจจุบัน ในสถานการณ์ที่ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม กฏหมายและการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักวางแผน หรือนักบริหารภาษี จะรู้เฉพาะหลักกฏหมายภาษีที่เกี่ยวข้องเพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ ผู้วางแผนจำเป็นต้องรู้หลักของกฏหมายบัญชี กฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักการบริหารและนโยบายภาษีนั้นประกอบด้วย และความสำเร็จของการวางแผนภาษีจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยความสามารถในการนำเอาหลักความรู้ต่างๆ ดังกล่าวมาบูรณาการ (Integration) เพื่อใช้ในการปฏิบัตินั่นเอง
2.กำเนิดภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย
ในปี พ.ศ.2511 ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเริ่มมีการนำมาใช้ครั้งแรกในโลก โดยประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นบิดาแห่งระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หลังจากนั้นถัดมาก็ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป และอเมริกาใต้ ในทวีปเอเชีย เกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่ได้ใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มในปี พ.ศ.2520 สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้นำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 นับได้ว่าเป็นการปฏิวัติการจัดเก็บภาษีทางอ้อมของไทยครั้งใหญ่ ผู้เขียนยังจำได้ถึงสโลแกนหรือคำขวัญของกรมสรรพากรในขณะนั้นก็คือ "ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บไม่ซ้ำซ้อน ชัดเจน แน่นอน และเป็นธรรม" ถ้าพิจารณาความหมายจากคำขวัญก็จะพอมองเห็นถึงวัตถุประสงค์ของการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ได้พอสมควร แต่เป้าหมายสำคัญที่มีการเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงเหตุผลที่มีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้จัดเก็บแทนภาษีการค้าก็เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการส่งเสริมการส่งออกของไทย (Export-led Economy Policy) ที่กำลังเป็นไปอย่างเข้มข้นในช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ตามนับแต่เริ่มใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มจนถึงปัจจุบัน การปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏหมายไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เพราะจะต้องศึกษาจากประมวลรัษฎากร (กฏหมายภาษีในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร) และระเบียบ คำสั่งต่างๆ ซึ่งเป็นกฏหมายลูก ที่นอกจากจะอ่านทำความเข้าใจได้ยากแล้ว กฏหมายยังมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติ ผู้มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ต้องศึกษาทำความเข้าใจ และติตตามความเปลี่ยนแปลงของกฏหมายนี้อย่างต่อเนื่อง
3.รู้จักคำว่าภาษี และประเภทของภาษี
สำหรับท่านผู้อ่าน ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่กำลังจะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่สนใจใฝ่รู้ในเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม และการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีนิยามและคำศัพท์ภาษีที่สำคัญที่ท่านควรต้องรู้และทำความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปคือคำว่าภาษี ประเภทของภาษี (Tax System) และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax)
ในบทต่อไป เราจะมาทราบพร้อมกันกับ นิยามคำว่า "ภาษี" คืออะไรค่ะ
Wriiten by A. Damri Duangnapa
Prepared by KASME
#KASME #สถาบันฝึกอบรม #ฝึกอบรมระยอง #อบรมระยอง
#สำนักงานบัญชีระยอง #กรมสรรพากร #ระยอง
ความคิดเห็น