1272965523380705 1272965523380705
top of page
Kasme Co., Ltd.

สรรพากรเตือน ผู้มีรายได้ในต่างประเทศเตรียมเสียภาษี!


สรรพากรเตือน ผู้มีรายได้ในต่างประเทศเตรียมเสียภาษี !

[ TAX : NEWS ]


สรรพากรปิดช่องทางนักลงทุน หรือเหล่าเศรษฐีเลี่ยงภาษี โดยกำหนดให้นำเงินได้มาคำนวณเป็นรายได้ชำระภาษี เมื่อนำรายได้เข้าประเทศ ยืนยันเป็นหลักสากลที่ไทยยกเว้นมานา ทำให้เกิดช่องโหว่ในการเลี่ยงภาษี ต้องการสร้างความเป็นธรรมในระบบ

.

จากประกาศกรมสรรพากร ฉบับล่าสุดออกเมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2566 สรรพากรมีแผนจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมสำหรับคนมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

.

โดยกรมสรรพากร มีคำสั่งให้บุคคล ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีเงินได้พึงประเมินอันเนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรในปีภาษีดังกล่าว และได้นำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้าประเทศไทยในปีภาษีใดก็ตาม ให้บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องนำเงินได้พึงประเมินเหล่านี้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากรในปีภาษีที่ได้นำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศ

.

หลักสากลของการจัดเก็บภาษีเงินได้ คือ เงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อนำกลับเข้าประเทศไม่ว่าจะปีไหน ก็จะต้องนำมาคำนวณภาระภาษีในประเทศ

.

ปัจจุบันไทยเป็นสมาชิก Global Forum และไทยได้มีการออกกฎหมายเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินและภาษีกับประเทศสมาชิก ทำให้ต่อไปกรมสรรพากรสามารถรู้ข้อมูลเงินได้ของคนไทยที่เกิดขึ้นในต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้เสียภาษีที่ประเทศต้นทางแล้ว หากประเทศดังกล่าว เป็นประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทย รายได้ที่ได้เสียภาษีในต่างประเทศแล้วจะได้รับยกเว้น

.

สำหรับระยะเวลาการนำข้อกำหนดดังกล่าวมาใช้ กรมสรรพากรจะเริ่มใช้สำหรับเงินได้ปี 2567 ถ้ากรณีเป็นบุคคลธรรมดาก็เสียภาษีในปี 2568

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ bangkokbiznews.com

.

.

KASME

www.kasmethai.com

#ภาษ#บัญชี #Tax #Account

#อบรมภาษีระยอง #อบรมบัญชีระยอง

#สภาวิชาชีพบัญชี


Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page