1272965523380705 1272965523380705
top of page
Kasme Co., Ltd.

ขายมอเตอร์ไซค์แล้วโดนเบี้ยวหนี้ เราจะตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญได้ไหม? : สถาบัน KASME อบรมบัญชีภาษี

ที่มา: ข้อหารือภาษีอากร,กรมสรรพากร

เลขที่หนังสือ: กค 0702/709

วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2565

เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้

ข้อกฎหมายฯ: ข้อ 3 ข้อ 4 (2) และ 5 (2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ

ปรับปรุงล่าสุด: 15-01-2024

อบรมบัญชี อบรมภาษี ฝึกอบรม ตารางอบรม2567 สัมมนา หลักสูตร cpd ออนไลน์ elearning เรียนรู้บัญชี เรียนรู้ภาษี สรรพากร สภาวิชาชีพบัญชี KASME สถาบันคัสเม่ นับชั่วโมง ระยอง กรุงเทพ ชลบุรี จันทบุรี นครปฐม นนทบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา อยุธยา ปราจีนบุรี เชียงใหม่ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครศรีธรรมราช ขอนแก่น กฏหมายภาษี มาตรฐานการบัญชี อมตะซิตี้ นิคมอุตสาหกรรม บัญชี ยื่นภาษี คืนภาษี ลดหย่อนภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฐานภาษี เรียนบัญชี บันทึกบัญชี บัญชีรายรับรายจ่าย สภาวิชาชีพบัญชี โปรแกรมบัญชี ผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี บัญชีคู่ ธรรมนิติอบรม ธรรมนิติ อบรม cpd ฟรีebook

ข้อหารือ:

บริษัท ก. ประกอบกิจการให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ได้ฟ้องร้องลูกค้าของตนเป็น 2 ลักษณะ คือ การฟ้องลูกค้าในคดีแพ่ง เช่น สัญญาเงินกู้ สัญญาเช่าซื้อ เป็นต้น และการฟ้องลูกค้าในคดีอาญา โดยลูกค้ากระทำความผิดฐานฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ซึ่งมีมูลค่าหนี้เกิน 100,000 - 500,000 บาท บริษัทฯ ได้ใช้สิทธิ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ การฟ้องคดีแพ่ง ที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งศาลได้มีคำสั่งรับฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว


บริษัท ก. จะสามารถใช้สิทธิในการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามข้อ 5 (2) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ได้หรือไม่


แนววินิจฉัย:

การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ อาจพิจารณาได้ ดังนี้

1. กรณีบริษัท ก. ได้ทำสัญญาให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์กับลูกค้า แต่ต่อมาลูกค้าได้นำรถจักรยานยนต์ไปจำนำ ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อข้อตกลงในสัญญาให้เช่าซื้อและเข้าลักษณะฐานความผิดฉ้อโกงหรือยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นเหตุให้บริษัท ก. ไม่ใช้สิทธิรับชำระหนี้จากลูกค้าหลังจากการทราบถึงเหตุดังกล่าว ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้เนื่องจากการผิดสัญญานั้นเป็นมูลเหตุให้บริษัท ก. สามารถดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้องในหนี้โดยการฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้


หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดอาญาซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการผิดสัญญาเช่าซื้อ จึงเข้าลักษณะเป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบกิจการของบริษัท หากบริษัท ก. ได้นำหนี้ดังกล่าวไปรวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิแล้ว #หนี้ดังกล่าวย่อมเข้าลักษณะเป็นหนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ได้ ตามข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ


2. กรณีหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท และเป็นกรณีของคดีลักทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกตามมาตรา 43 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บริษัท ก. ได้ดำเนินการฟ้องลูกค้าของตนเป็นลูกหนี้ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นไว้แล้ว หากในคดีดังกล่าวได้มีการเรียกทรัพย์สินหรือราคาตามจำนวนมูลหนี้ของลูกหนี้นั้นทั้งจำนวนตามมาตรา 43 ประกอบกับมาตรา 44 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกรรมการของบริษัท ก. ได้มีคำสั่งอนุมัติให้จำหน่ายหนี้นั้นเป็นหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว บริษัท ก. #มีสิทธิจำหน่ายหนี้สูญสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้นได้ตามมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ


หากบริษัท ก. ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ได้จำหน่ายหนี้สูญไปแล้ว บริษัท ก. ต้องนำเงินที่ได้รับชำระหนี้นั้นไปรวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาที่ได้รับชำระหนี้


*หมายเหตุ กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามข้อ 5 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 374 (พ.ศ. 2564) จากหนี้จำนวนไม่เกิน 500,000 บาท เป็นจำนวนไม่เกิน 2,000,000 บาท ซึ่งให้ใช้บังคับสำหรับการดำเนินการที่เริ่มใน รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป


สถาบันฝึกอบรม KASME

รหัสสถาบัน 06-153(สภาฯบัญชี)

รหัสองค์กร 3-0011(กรมสรรพากร)

โทร 033 060 395, LINE: KASMETHAI

เว็บไซต์สถาบัน: www.kasmethai.com

สนทนาพาทีภาษาภาษี และบัญชี กับวิทยากรประจำสถาบัน ในกลุ่มกระดานภาษี กระดานภาษี by สถาบัน KASME

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page