1272965523380705 ภาษีกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาค 3 1272965523380705
top of page

ภาษีกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาค 3

ภาคต่อตอนสุดท้ายการวิเคราะห์โครงสร้างภาษีไทย กับปัญหาด้านภาษีที่มีโอกาสเกิดขึ้นเมื่อเปิดเสรีAEC หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กับสิ่งที่ควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วนเพื่อลดอุปสรรคและเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน สำหรับภาคที่ผ่านมาได้กล่าวถึงประเด็นในด้านปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในครั้งนี้เราจะกล่าวต่อเนื่องในส่วนของปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น


ภาษีเงินได้นิติบุคคล จะจัดเก็บได้ยากขึ้นและมีแนวโน้มจัดเก็บได้ลดลงเมื่อเปิด AEC เนื่องจากการย้ายฐานภาษีทำได้ง่ายขึ้นและการแข่งขันลดอัตราภาษี การส่งเสริมการลงทุน BOI และการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทางภาษีผ่านมาตรการของรัฐ มีอยู่จำนวนมาก ทำให้สูญเสียรายได้ทางภาษีอากร ทั้งที่อาจจะไม่มีความเหมาะสมแล้วเมื่อเปิดเสรี AEC


แนวทางแก้ไข: เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจเสรีอาเซียน (AEC) โดยสมบูรณ์แล้ว ควรพิจารณาทบทวนสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมการลงทุน BOI และ การให้สิทธิประโยชน์ ทางภาษีผ่านมาตรการต่าง ๆว่ายังมีประโยชน์ มีความเหมาะสม หรือความคุ้มค่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ อย่างใดและพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมกับความจำเป็น จะเป็นแนวทางหนึ่ง ที่สามารถ ดึงจำนวนเงินภาษีกลับเข้ามาในระบบ ได้เป็นจำนวนมาก เพราะจากรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2554 พบว่ารายได้ที่สูญเสียไปจากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในปีงบประมาณ 2553 มีจำนวนถึง 201,928 ล้านบาท

เมื่อพิจารณาจากตารางที่ 2 : อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยจัดเก็บอยู่ที่ อัตรา 7 % เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน จะเห็นว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำสุด เท่ากับประเทศสิงคโปร์ ส่วนประเทศมาเลเซีย บรูไน และพม่า ไม่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ประเทศมาเลเซียมีการจัดเก็บภาษีขาย (Sales tax) ในอัตรา 5% และ 10% แล้วแต่ประเภทสินค้าและบริการ และมีการจัดเก็บภาษีบริการในอัตรา 5% ส่วนประเทศพม่าใช้ภาษีการค้า (Commercial tax) อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทกิจการตั้งแต่ 5% - 30% (ข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)

ภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยจึงเป็นอัตราภาษีที่แข่งขันได้ในกลุ่มอาเซียน ถึงแม้จะยังไม่ต่ำที่สุดในโลก เพราะประเทศที่มีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าไทย จะเก็บในอัตรา 5 % เช่น ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน เป็นต้น จากการศึกษาพบว่ารายได้จาก ภาษีมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และ เมื่อเปิด AEC แนวโน้มการจัดเก็บภาษีเงินได้ จะลดลง รัฐบาลไทย จึงต้องหันมาพึ่งพาภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานการบริโภค ซึ่งเป็นฐานภาษีที่โยกย้ายได้ยาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงจะมีบทบาทที่สำคัญในการเป็นแหล่งรายได้หลักให้กับรัฐบาล


อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในขณะนี้จึงน่าจะเป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว ต่อเมื่อมีการเปิดเสรี AEC ในอนาคตแล้วจึงต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย และนโยบายของประเทศเพื่อนบ้านใหม่ เพื่อการปรับปรุงอัตราที่เหมาะสมต่อไป

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page
1272965523380705