1272965523380705 ภาษีการรับมรดก (Inheritance TAX) 1272965523380705
top of page

ภาษีการรับมรดก (Inheritance TAX)

สวัสดีทุกท่านกับวันศุกร์ 13 กันยายน ซึ่งตรงกับวันไหว้พระจันทร์พอดีค่ะ

วันนี้ เรามาเติมความรู้ทางภาษีในเรื่องของ "ภาษีการรับมรดก" หรือที่เรียกว่า "Inheritance TAX" กันดีกว่านะคะ ว่าความรับผิดทางภาษีในส่วนนี้ เกิดขึ้นเมื่อใด และใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนดังกล่าว

ในส่วนแรก เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า "มรดก" กันก่อน ซึ่งในพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 มิได้กำหนดความหมายของมรดกไว้โดยเฉพาะ อ้างอิงความหมายตามมาตรา 1599-1600 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวว่า

เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้น ย่อมตกทอดแก่ทายาททันที โดยมรดกของผู้ตาย ได้แก่

>> ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย

>> สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆ

นั่นก็หมายถึง การรับสืบทอดต่อโดยทายาททั้งในส่วนของทรัพย์สิน และ หนี้สินนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เพื่อความเป็นธรรม จึงกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบไว้เพียงไม่เกินมูลค่าของมรดกที่ตนได้รับมา

โดยกองมรดกของผู้ตายนั้น ตกทอดแก่ทายาทที่ชอบโดยสิทธิตามกฏหมาย หรือโดยพินัยกรรม

1.ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลําดับที่กฎหมายกําหนดไว้

2.ทายาทโดยพินัยกรรม ได้แก่ ผู้รับพินัยกรรม

ภาษีการรับมรดก (Inheritance TAX)

ภาษีการรับมรดกจะเกิดขึ้น เมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิต โดยผู้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละรายที่ได้รับมรดกสุทธิมาในคราวเดียว หรือรายคราว รวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกวา 100 ล้านบาท มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฏหมายกำหนด

ทั้งนี้ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีการรับมรดก มีดังนี้

- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก มาตรา 1599 - มาตรา 1755 - พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 - พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 - พระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2559

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ได้แก่ ผู้ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับมาจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นที่ได้รับเป็นมรดก หักด้วยภาระหนี้สินอันตกทอดมาจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับผู้รับมรดก ดังนี้

1. บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ (1) บุคคลผู้มีสัญชาติไทย (2) บุคคลธรรมดาผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (3) บุคคลธรรมดาผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

บุคคลธรรมดาตาม (1) (2) ให้เสียภาษีจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศ บุคคลตาม (3) ให้เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

2. นิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย ได้แก่ นิติบุคคลที่ถือว่าเป็นบุคคลมี่มีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2559 ดังต่อไปนี้ (1) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ (2) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายในประเทศไทย หรือ (3) เป็นนิติบุคคลที่ผู้มีสัญชาติไทย ถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในขณะมีสิทธิได้รับมรดก หรือ (4) เป็นนิติบุคคลที่ผู้มีสัญชาติไทย เป็นผู้มีอำนาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของคณะบุคคลซึ่งมีอำนาจบริหารกิจการทั้งหมด

นิติบุคคลตาม (1) – (4) ให้เสียภาษีการรับมรดกจากมรดกที่ได้รับเป็นทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศ

3. กรณีผู้ที่ได้รับมรดกเป็นนิติบุคคลที่มิได้ถือว่าเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย ตาม 2. แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ให้เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

ที่มา: กรมสรรพากร

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page
1272965523380705