1272965523380705 เหมือนหรือต่างระหว่างภาษีซื้อต้องห้าม VS ภาษีซื้อไม่ขอคืน? 1272965523380705
top of page

เหมือนหรือต่างระหว่างภาษีซื้อต้องห้าม VS ภาษีซื้อไม่ขอคืน?

นักบัญชีหรือเจ้าของกิจการหลายท่านอาจมีความสับสน ระหว่าง "ภาษีซื้อต้องห้าม" กับ "ภาษีซื้อไม่ขอคืน" ในวันนี้สถาบันคัสเม่ จะขอหยิบยกบทความจากนิตยสารมุมสรรพากร มาอธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจแบบง่ายง่ายในวันนี้กันค่ะ

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกับระบบภาษีมูลค่าเพิ่มกันก่อนนะคะ ในแต่ละเดือน ผู้ประกอบการที่จด VAT จะต้องมีหน้าที่คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยการนำ

ภาษีขาย - ภาษีซื้อ = ค่าออกมาเป็น + >> ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งให้แก่กรมสรรพากร ภาษีขาย - ภาษีซื้อ = ค่าออกมาติด - >> ภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีสิทธิขอคืนหรือนำไปหักลบออกกับภาษีขายในเดือนถัดไป

เมื่อทราบเช่นนี้ ในหลายกิจการก็เริ่มมีไอเดียที่อยากจะประหยัดภาษี หนึ่งในวิธียอดฮิตก็คือการนำ "ภาษีซื้อ" มาใช้หักเยอะๆ แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนที่ท่านจะนำมาใช้ กิจการจะต้องมีความเข้าใจกับนิยามของคำว่า "ภาษีซื้อ" กันก่อนค่ะ

"ภาษีซื้อ" คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายไปให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการ ซื่งภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นั้น ให้รวมถึงภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วย อย่างไรก็ตาม "ภาษีซื้อต้องห้าม" ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่กำหนดไว้ >>>ไม่สามารถนำมาใช้หักภาษีขายหรือขอคืนได้ค่ะ<<<

#ลักษณะเฉพาะของ "ภาษีซื้อต้องห้าม"

- ไม่สามารถใช้ขอคืนภาษี หรือ นำไปหักกับภาษีขายได้ - แต่สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เช่น ภาษีซื้ออันเกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง, ภาษีซื้อจากการซื้อกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้า, ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ, ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตาม ม.86/4 แห่งประมวลฯ ซึ่งรายการตาม ม.86/4 ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด เป็นต้น

แต่!! ก็ยังมีภาษีซื้อบางประเภท ที่เรียกได้ว่าเป็น "ภาษีซื้อ ต้องห้ามห้าม!" ที่กฏหมายห้ามไม่ให้นำไปหักออกจากภาษีขาย และห้ามนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (เรียกว่า "ต้องห้ามตามระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและระบบภาษีเงินได้นิติบุคคล") ตัวอย่างเช่น

- กรณีไม่มีใบกำกับภาษี หรือสูญหาย - ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ - กรณีมีใบกำกับภาษี แต่ภาษีซื้อตามใบกำกับ ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ เช่น >> บริษัทจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยรถยนตให้กับรถยนต์พนักงาน >> ใบเสร็จรับเงินศุลกากรระบุชื่อกิจการ "เป็นผู้จ่ายเงิน" แต่กิจการไม่ได้เป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรมาใช้ในกิจการของตนเอง

แล้ว #ลักษณะเฉพาะของภาษีซื้อไม่ขอคืน คืออะไร ?

เราสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆก็คือ ภาษีซื้อไม่ขอคืน = ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจด VAT มีสิทธิขอคืน หรือหักออกจากภาษีขายได้ตามที่กฏหมายกำหนด แต่ผู้ประกอบการสละสิทธิที่จะใช้นั่นเอง ซึ่งภาษีซื้อดังกล่าวนี้ จะกลายเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลค่ะ

จึงทำให้ กิจการใดที่นำภาษีซื้อไม่ขอคืน >> ไปบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย จะต้องนำมาบวกกลับ ในตอนคำนวณกำไรสุทธิในแบบ ภ.ง.ด.50 ด้วยนะคะ

คราวนี้เราก็เห็นกันแล้วว่า "ภาษีซื้อต้องห้าม" และ "ภาษีซื้อไม่ขอคืน" นั้นต่างกันอย่างไร ก็สามารถนำไปปรับใช้กับกิจการของท่านได้ต่อไปเลยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก #มุมสรรพากร ฉบับที่ 77 เดือนตุลาคม 2561

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page
1272965523380705