1272965523380705 แนวทางสนับสนุนพร้อมมุมมองจาก 5 หน่วยงาน ต่อร่างพรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ผ่านบันทึกข้อตกลง(MOU) 1272965523380705
top of page

แนวทางสนับสนุนพร้อมมุมมองจาก 5 หน่วยงาน ต่อร่างพรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ ผ่านบันทึกข้อตกลง(MOU)

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สภาวิชาชีพบัญชี ธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วย "การสนับสนุนและกำกับดูแลผู้ประกอบการให้จัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ" เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและนิติบุคคลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำบัญชี งบการการเงิน และเข้าสู่ระบบภาษี เพื่อสะท้อนการเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างถูกต้องสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนและเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจได้ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

โดยข้อตกลงดังกล่าวนั้น ได้มีการยกมาตรการการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มของกรมสรรพากร ผ่าน "ร่างพรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. ...." ซึ่ง ณ ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาวาระที่ 3 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.แล้ว ทั้งนี้มาตรการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงในให้นิติบุคคลที่เข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม เข้าสู่ระบบ และจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ โดยนิติบุคคล ที่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่สามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิดังกล่าวได้นั้น มีดังนี้ - มีรายได้จากรอบบัญชี 12 เดือนล่าสุด (นับวันสุดท้ายของรอบบัญชีที่สิ้นสุดก่อน 30/09/61) ไม่เกิน 500 ล้านบาท โดยนิติบุคคลจะต้องยื่นภาษีเงินได้หรือแบบ ภงด.50 สำหรับรอบบัญชีดังกล่าวนี้เรียบร้อยแล้ว - ไม่อยู่ในระหว่างการถูกดำเนินคดี ถูกฟ้องร้อง โดยกรมสรรพากรในเรื่องของการใช้ใบกำกับภาษีไม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือมีการการกระทำผิดอันว่าด้วยเรื่องของใบกำกับภาษี - ลงทะเบียนใช้สิทธิภายใน 30 มิถุนายน 2562 - ไม่ใช้สิทธิในการผ่อนภาษี ต้องชำระเต็มจำนวน - ยื่นงบการเงินผ่านระบบ e-Filing หลังจากนั้นอีก 1 ปี สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้อง พร้อมกับมุมมองจากแต่ละภาคส่วนต่อข้อตกลงดังกล่าว สามารถสรุปพอสังเขปได้ดังนี้ ในส่วนของภาคธนาคารแห่งประเทศไทย > ข้อมูลงบการเงินที่ชัดเจน สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพที่แท้จริงของกิจการ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือจากสถาบันการเงิน > เมื่อมีความน่าเชื่อถือต่อสถาบันการเงิน -> การให้สินเชื่อก็จะทำได้โดยสะดวกขึ้น และ อัตราดอกเบี้ยก็จะผันแปรตามความน่าเชื่อถือของกิจการเช่นเดียวกัน #แนวทางจากภาคธนาคารเพื่อการสนับสนุนนโยบาย > ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการกำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับแต่ละสถาบันการเงิน เพื่อการนำไปใช้ วิเคราะห์ สานต่อ ต่อลูกค้าธนาคารของแต่ละธนาคาร เช่น แนวทางการบริหาร/จัดการเงินสด หากงบการเงินแสดงให้เห็นข้อมูลที่คาดว่าต่ำกว่าความเป็นจริง อาจส่งผลถึงการกำหนดดอกเบี้ยต่อธุรกิจองค์กรนั้นๆ หรือการประเมินความเสี่ยงของแต่ละกิจการ จากการประเมินความถูกต้องของงบการเงิน ในส่วนของภาคกรมพัฒนาธุรกิจการค้า > สนับสนุนการทำบัญชีให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยในด้านธุรกิจในด้านการคำนวณค่าใช้จ่าย ต้นทุนสินค้าได้อย่างถูกต้อง > งบการเงินที่ถูกต้อง จะเป็นตัวสะท้อนต่อสภาพความเป็นจริงในด้านการลงทุนในแต่ละพื้นที่ ตามแต่ละประเภทของธุรกิจ โดยภาพใหญ่ของลักษณะธุรกิจในแต่ละพื้นที่ จะช่วยในด้านการกำหนดงบประมาณ และวางยุทธศาสตร์ตามลักษณะพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง #แนวทางจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อการสนับสนุนนโยบาย > มีการกำหนดช่องทางพิเศษ "Fast Track" สำหรับการยื่นงบการเงินที่ต้องแก้ไข > มีการจัดทำคู่มือกับสรรพากรเพื่อนำไปใช้สำหรับการปรับปรุงงบการเงิน > จับมือกับ Start Up "Total Solution for SMEs" สำหรับการสนับสนุนการทำธุรกรรม Online เพื่อทดสอบการเชื่อมโยงระบบกับสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงิน จะเห็นสภาพเนื้อแท้ของธุรกิจ -> ส่งผลให้ภาคธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างสมเหตุสมผลต่อไป > มีการวางโปรแกรมบัญชีผ่านบนเว็บไซต์ของกรมพัฒน์ฯ ดาวน์โหลดฟรีสำหรับการใช้งาน โดยโปรแกรมนี้สามารถ convert ไฟล์ และส่ง DBD e-Filing ได้ทันที ในส่วนของภาคสภาวิชาชีพบัญชี > สนับสนุนผลักดันการจัดทำบัญชีให้ถูกต้อง > ระบบบัญชีที่ไม่ดี จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือด้านการขยายธุรกิจผ่านการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน > สภาวิชาชีพบัญชีฯ พยายามออกแนวทางปฏิบัติให้มีการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องต่อไปในอนาคต #แนวทางจากสภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อการสนับสนุนนโยบาย > จัดเตรียมซอฟท์แวร์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อการจัดทำ & ลงบัญชี > ดาวน์โหลดได้ทางทางเว็บไซต์ของสภาฯ "SME สบายใจ" โดยจะถูกเปิดใช้อย่างเป็นทางการในเดือนเมษายนนี้ และแนะนำให้ SMEs ดาวน์โหลดโปรแกรมบัญชีดังกล่าวไปใช้งาน คู่ขนานกับบัญชีจากสำนักงานบัญชี ในส่วนของภาคเอกชน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) > สนับสนุนการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง เพื่อคลายความกังวลด้านการถูกเรียกตรวจจากสรรพากร และสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจ > การทำงบการเงินให้ถูกต้อง ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่โปร่งใส ดึงดูดนักลงทุนให้ร่วมลงทุนในธุรกิจ (Joint Venture) > มีผลบวกต่อการพิจารณาการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ > มีโอกาสเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากงบการเงินสะท้อนภาพความเป็นจริงของกิจการ > พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ให้โอกาสให้กิจการที่ทำไม่ถูกต้อง ได้เข้ามาปรับตัวใหม่ และยังได้รับสิทธิในการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม #แนวทางจากภาคเอกชนเพื่อการสนับสนุนนโยบาย > ร่วมปฏิบัติตามในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง ส่งเสริมการมีธรรมาภิบาล และการอยู่ในระบบจะช่วยคลายความกังวลได้มากขึ้น ในส่วนของกรมสรรพากร > มาตรการ พรบ.ยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มฯ จะเป็นมาตรการสุดท้ายจากกรมสรรพากรที่จะถูกออกมาใช้เพื่อผลักดันให้นิติบุคคล จัดทำบัญชีให้ถูกต้อง > นิติบุคคลที่เคยลงทะเบียนไว้เมื่อปี 2559 จากมาตรการบัญชีชุดเดียว และทำงบการเงินได้อย่างถูกต้องแล้วนั้น ไม่ต้องลงทะเบียน ทั้งนี้นิติบุคคลที่เคยจดแจ้งบัญชีชุดเดียว แต่ยังทำไม่ถูกต้อง สามารถลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 > อย่างไรก็ตาม สำหรับนิติบุคคล ที่ไม่สนใจ และยังคงทำไม่ถูกต้อง เมื่อพ้นวันที่ 30 มิถุนายน 2562 แล้วนั้น กรมสรรพากรจะนำข้อมูลจากฐานข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดกลุ่มแยกประเภทตามความเสี่ยงของผู้ประกอบการ #แนวทางจากกรมสรรพากรเพื่อการสนับสนุนนโยบาย > เปิดโอกาสให้นิติบุคคลที่เข้าเกณฑ์ตรงตามเงื่อนไขสามารถลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2562 เพื่อใช้สิทธิยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีอากร > สำหรับนิติบุคคล ที่ปรากฏว่ามีความเสี่ยงสูง และลงทะเบียนใช้สิทธิ จะมีมาตรการปราบปราม โดยมีการออกหมายเรียก พร้อมการตรวจปฏิบัติการ ซึ่งหมายเรียกดังกล่าวจะถูกส่งไปยังกรรมการผู้จัดการ และอาจรวมถึงผู้ถือหุ้นด้วย > กรมสรรพากร จะมีการบูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, ธนาคาร, สภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน > งบการเงินที่สะท้อนความเสี่ยง และไม่ถูกต้อง จะส่งผลถึง ผู้สอบบัญชี ผู้ทำบัญชี และกิจการ เช่นกัน > จะมีการตั้งข้อสังเกตุกับธุรกิจ ที่มีการทำธุรกรรมโดยใช้ "เงินสด" เป็นหลัก โดยพิจารณาจากธรรมชาติของธุรกิจว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page
1272965523380705