1272965523380705 1272965523380705
top of page

อากรแสตมป์นั้น สำคัญไฉน กับธุรกิจเช่า ซื้อ กู้ยืม?



อากรแสตมป์ สำคัญอย่างไรกับธุรกิจเช่า ซื้อ กู้ยืม

.

.

ธุรกิจการเช่า ซื้อ หรือการกู้ยืม จะต้องติดอากรแสตมป์ด้วยเมื่อมีการทำสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งอากรแสตมป์นั้นถือเป็นภาษีอากรประเภทหนึ่ง ที่อีกหลายคนอาจเกิดความสับสนว่าต้องติดอากรแสตมป์ในราคาเท่าไหร่ แล้วติดยังไง ใครต้องติด รวมถึงซื้อได้จากที่ไหนบ้าง

.

#ลักษณะตราสารที่ต้องติดอากรแสตมป์มีอะไรบ้าง

.

ในธุรกิจที่มีการเช่า ซื้อขาย หรือกู้ยืม ต้องมีการทำสัญญา เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้อง และมีผลในทางกฎหมาย ซึ่งเอกสารในการทำสัญญาก็จะต้องติดอากรแสตมป์ด้วยทุกครั้ง หรือภาษาทางการเรียกว่า ตราสาร ซึ่งอากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ #ตราสาร28ลักษณะ ดังนี้

.

1. ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้เฉพาะยานพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้นๆ

2. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน

3. ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัด ซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน

4. ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน

5. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน

6. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร

7. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

8. ตัวแทน

9. คำสั่งให้ส่งมอบของ

10. ใบรับของคลังสินค้า

11. จำนำ

12. ค้ำประกัน

13. ใบรับรอง

14. เช็คสำหรับผู้เดินทาง

15. เลตเตอร์ออฟเครดิต

16. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย

17. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใดๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค

18. ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใดๆ และพันธบัตรของรัฐบาลใดๆ ที่ขายในประเทศไทย

19. บิลออฟเลดิง

20. ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อ่างตั๋วแลกเงิน และตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน

21. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติ

22. ใบมอบอำนาจ

23. กรมธรรม์ประกันภัย

24. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร

25. จ้างทำของ

26. เช่าซื้อทรัพย์สิน

27. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใดๆ เป็นผู้ออก

28. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ

.

ทั้งนี้อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร โดยคำว่า กระทำ หมายความว่า การลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

.

#ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์มีใครบ้าง

.

1. บุคคลตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ผู้รับประกันภัย ผู้ให้กู้ เป็นต้น

2. อนุญาตให้ทำตราสารนอกประเทศได้ แต่เจ้าของตราสารคนแรกในประเทศไทยคือผู้เสียภาษีอากร ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับตราสาร ถ้าหากไม่ได้ปฏิบัติตามความข้างต้น ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งต้องเสียอากรแล้ว จึงยื่นตราสารเพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอนหรือถือเอาประโยชน์ได้

3. ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน ไม่ได้ปิดแสตมป์อย่างสมบูรณ์ผู้รับตั๋วเงินจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจากผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักเงินที่ชำระก็ได้

4. ผู้มีหน้าที่เสียอากรตามที่ระบุไว้ในบัญชีอากรแสตมป์อาจตกลงในคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียอากรแสตมป์ก็ได้ เว้นแต่กรณีตามข้อ 2

.

#การชำระค่าอากรแสตมป์มีกี่วิธี

.

วิธีการชำระและขอคืนอากรแสตมป์ มี 3 รูปแบบ และในกรณีชำระเกินอาจขอคืนได้


1. การชำระอากรแสตมป์โดยวิธีปิดทับ การใช้แสตมป์ปิดทับต้องทำก่อนหรือขณะทำตราสารเป็นราคาแสตมป์ไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย

2. ชำระเป็นตัวเงิน ใช้แบบของและอนุมัติให้เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน อ.ส.4 ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยแนบตราสารที่ขอเสียอากรไปด้วย และให้ยื่นต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

3. แสตมป์ดุน เป็นการเสียอากรโดยใช้แสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่า หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว

.

#อัตราอากรแสตมป์ที่ต้องจ่าย แตกต่างกันตามประเภทของสัญญา

.

การจัดทำเอกสารสัญญาต่างๆ ที่ต้องปิดอากรแสตมป์ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ จะมีอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทสัญญาที่ทำ ตัวอย่างเช่น

.

- กู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้มีหน้าที่เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาทต่อจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืม ค่าอากรตามลักษณะแห่งตราสารนี้ เมื่อคำนวณแล้วถ้าเกิน 10,000 บาท ให้เสีย 10,000 บาท โดยสามารถตรวจสอบอัตราอากรแสตมป์ได้จากบัญชีอัตราอากรแสตมป์

.

- การจ้างทำของ ยกเว้นสัญญาที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นไม่ได้ทำในประเทศไทย ผู้รับจ้างมีหน้าที่เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาทต่อจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้

.

- เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า มีการจัดทำสัญญาให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ติดอากรแสตมป์ ในอัตราภาษี คือมูลค่าสัญญาเช่า 1,000 บาท ติดอากรแสตมป์ 1 บาท

.

ทั้งนี้สามารถเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดได้ที่บัญชีอัตราอากรแสตมป์จากกรมสรรพากร

.

ทั้งนี้ หากผู้ใดเสียอากรหรือเงินเพิ่มอากรสำหรับตราสารลักษณะเดียวหรือฉบับเดียวกันเกินไปไม่น้อยกว่า 2 บาท อาจทำหนังสือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ได้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่เสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร หากอธิบดีเห็นว่าจำนวนเงินดังกล่าว เสียเกินไปจริงก็จะคืนให้ผู้เสียภาษี

.

ที่มา: Post Today


---------------

KASME

สถาบันฝึกอบรมคัสเม่

LINE: KASMETHAI

Commentaires


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page