1272965523380705 กรณีศึกษา: การจำหน่ายคูปองน้ำมัน VS ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1272965523380705
top of page

กรณีศึกษา: การจำหน่ายคูปองน้ำมัน VS ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในวันนี้ สถาบัน KASME จะขอหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจ กรณีที่สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ทำการจำหน่ายคูปองน้ำมันสำหรับการใช้แทนเงินสดให้กับลูกค้า โดยมีข้อหารือว่า ในกรณีดังกล่าว "เมื่อสถานีฯ จำหน่ายคูปองเติมน้ำมัน ต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่"



สำหรับในกรณีนี้ เราจะขอหยิบยกตัวอย่างข้อหารือ อ้างอิงจากเลขที่หนังสือสรรพากร เลขที่: กค 0702/6087 วันที่ 26 ตุลาคม 2566 ในเรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง


ที่มา: กรมสรรพากร

เลขที่หนังสือ: กค 0702/6087

วันที่: 26 ตุลาคม 2566

เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

ข้อกฏหมาย: มาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร


บริษัทประกอบกิจการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าภายในสถานีบริการ (สถานีฯ) บริษัทเป็น ผู้ประกอบกิจการขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่าย ตามคำขออนุมัติในแบบคำร้อง ภ.พ.07 ในการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงบางกรณี ลูกค้าจะนำเงินมาชำระราคาล่วงหน้าไว้กับทางสถานีฯ จำนวนหนึ่ง เช่น 5,000 บาท และทางสถานีฯ ก็จะมอบคูปองใช้แทนเงินสด (คูปองฯ) มูลค่าฉบับละ 100 บาท ให้ไปจำนวน 50 ฉบับ ซึ่งลูกค้าจะมอบคูปองฯ ให้ผู้ใดก็ได้เพื่อนำมาใช้เติมน้ำมัน โดยไม่มีกำหนดอายุการใช้คูปองฯ โดยคูปองฯ ใช้ได้เฉพาะการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงจากทางสถานีฯ เท่านั้น และใช้ได้ตามมูลค่าคูปองฯ ไม่มีการทอนเงินส่วนต่างในการใช้แต่ละครั้ง การคิดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจะขึ้นอยู่กับราคาขายปลีกในแต่ละวัน คูปองฯ ที่จำหน่ายออกไปแล้วสถานีฯ จะไม่รับคืน หรือไม่สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้


ข้อหารือ: บริษัทฯ มีความเข้าใจว่า การจำหน่ายคูปองฯ ของสถานีฯ ถือว่าเป็นการรับชำระราคาค่าสินค้าล่วงหน้าซึ่งเกิดจุดความรับผิดทางภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จึงต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ชำระราคา นำส่งภาษีขาย และผู้ชำระราคาที่เป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถนำไปใช้เป็นภาษีซื้อของตนได้เช่นกัน โดยเมื่อผู้ซื้อนำคูปองฯ มาเติมน้ำมัน สถานีฯ ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีขายให้แก่ผู้ซื้ออีก หรือการจำหน่ายคูปองดังกล่าวไม่ถือเป็นการรับชำระราคาสินค้าล่วงหน้า แต่เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนสิทธิการชำระราคาจากธนบัตรที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไปเป็นคูปองฯ ที่ทางสถานีฯ ออกให้แทนเงินสด สถานีฯ จึงไม่ต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้นำเงินมาชำระเพื่อรับคูปองฯ ไปใช้แต่อย่างใด


บริษัทฯ ขอหารือว่า ความเข้าใจของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่


แนววินิจฉัย: กรณีสถานีฯ จำหน่ายคูปองฯ ให้แก่ลูกค้าเพื่อใช้แทนเงินสด โดยมีเงื่อนไขการใช้คูปองฯ กับสินค้าที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงภายในสถานีฯ นั้น หากการใช้คูปองฯ แทนเงินสดเพื่อซื้อสินค้าในกรณีดังกล่าวไม่ได้กำหนดสำหรับการซื้อสินค้าเฉพาะอย่าง ที่สามารถระบุชนิด ประเภท ปริมาณ หรือมูลค่าของสินค้า ที่ทำให้ทราบและกำหนดตัวสินค้า "ที่แน่นอนได้" การจำหน่ายคูปองฯ ในกรณีดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่เกิดขึ้น



สถาบัน KASME

รหัสสถาบัน 06-153(สภาฯบัญชี)

รหัสองค์กร 3-0011(กรมสรรพากร)

โทร 033 060 395, LINE: KASMETHAI

เว็บไซต์สถาบัน: www.kasmethai.com

สนทนาพาทีภาษาภาษี และบัญชี กับวิทยากรประจำสถาบัน ในกลุ่มกระดานภาษีได้ที่นี่ https://line.me/R/ti/g/DlqY6Gld8E


อบรมบัญชี ,อบรมภาษี ,เรียนรู้บัญชี ,เรียนรู้ภาษี ,สรรพากร ,สภาวิชาชีพบัญชี ,สถาบันKASME ,สถาบันคัสเม่ ,เก็บชั่วโมงอบรม ,นับชั่วโมงอบรม ,อบรมบัญชีระยอง ,อบรมบัญชีกรุงเทพ ,อบรมบัญชีชลบุรี ,อบรมบัญชีจันทบุรี ,อบรมภาษีระยอง ,อบรมภาษีชลบุรี ,อบรมภาษีจันทบุรี ,อบรมภาษีกรุงเทพ ,กฏหมายภาษี ,มาตรฐานการบัญชี ,อาจารย์ดำริดวงนภา ,TaxAuditor

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page
1272965523380705