1272965523380705 การขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวเพื่อเข้าระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ "VAT 1272965523380705
top of page

การขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวเพื่อเข้าระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ "VAT


ประเทศไทยของเรามีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ภาครัฐฯและกรมสรรพากร มีนโยบายในการเพิ่มช่องทางการขอ "VAT Refund" ให้กับนักท่องเที่ยว และเมื่อเร็วๆนี้ทางกรมสรรพากรได้ดำเนินการเสนอข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นผู้ขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวโดยปรับตัวเข้าสู่ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย หรือที่เรียกว่า "Vat Refund for Tourists"ค่ะ รายละเอียดจะเป็นเช่นใด เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจเข้าสู่ระบบและขออนุมัติเป็นผู้ขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว ติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ #ขอขอบคุณข้อมูลจาก: กรมสรรพากร คุณสมบัติของผู้ประกอบการ

1. เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

2. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7

3. ไม่เป็นผู้ประกอบการที่ถูกเพิกถอนการเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ถูกเพิกถอน

การยื่นคำขออนุมัติเป็นผู้ประกอบการ

1. ยื่นแบบกระดาษด้วยแบบคำขออนุมัติ (คท.1) ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ หรือที่กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ กรมสรรพากร กรณีเป็นสถานประกอบการที่อยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

2. ยื่นคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.rd.go.th/vrt

ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติของผู้ประกอบการในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว

1. ผู้ประกอบการแต่ละสถานประกอบการต้องขอรับและติดแผ่นป้าย “VAT Refund for Tourists” แสดงไว้ ณ ที่เปิดเผยให้นักท่องเที่ยวเห็นได้ชัดเจน

2. ขอรับแบบคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) จากสำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่เป็นรายสถานประกอบการ

3. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยว และยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

4. จัดทำใบกำกับภาษีขายและต้องระบุเลขที่หนังสือเดินทางของนักท่องเที่ยวลงในใบกำกับภาษีขายทุกฉบับ กรณีนักท่องเที่ยวซื้อสินค้าจากสถานประกอบการแห่งเดียวกันในวันเดียวกัน มีมูลค่ารวมตามใบกำกับภาษีไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ให้จัดทำแบบคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) และส่งมอบให้นักท่องเที่ยวพร้อมต้นฉบับใบกำกับภาษี

5. จัดทำรายงานคำร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว (คท.9) และเก็บรักษาไว้ ณ สถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี

6. กรณีผู้ประกอบการมีการเพิ่ม ลด ย้ายสถานประกอบการ เปลี่ยนชื่อผู้ประกอบการหรือสถานประกอบการ หรือไม่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวแล้ว ให้แจ้งต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ในท้องที่ที่สถานประกอบการซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

สิทธิพิเศษของผู้ประกอบการในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว

1. ใช้ป้ายสัญลักษณ์ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว โดยติดต่อขอรับป้ายสัญลักษณ์ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่ตั้งสถานประกอบการและผู้ประกอบการสามารถจัดทำป้ายสัญลักษณ์รูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ตามขนาดที่เหมาะสมกับสภาพสถานประกอบการได้

2. ได้รับสิทธิให้ใช้สัญลักษณ์ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวเผยแพร่ในเอกสารหรือ website ของทางบริษัท เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย

3. ได้รับการส่งเสริมการขาย โดยกรมสรรพากรจะประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานประกอบการ เช่น ภาพถ่ายสถานประกอบการ ภาพถ่ายสินค้าหรือแผนที่ตั้ง เป็นต้น ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร

4. ได้รับสื่อเผยแพร่ต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวเป็นภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกค้าชาวต่างชาติ

5. ได้รับสื่อโฆษณาภาษาต่างประเทศ เพื่อแสดงขั้นตอนการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว ในการสื่อสารทำความเข้าใจกับลูกค้าชาวต่างชาติ

6. ได้รับคู่มือการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการในระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

7. สามารถขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปแนะนำการปฏิบัติเกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ณ สถานประกอบการได้

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับท่านที่สนใจเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว

Email: vrefund@rd.go.th , โทร: 022729384-5, 022728195 ติดต่อกลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว กรมสรรพากร

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page
1272965523380705