1272965523380705 การส่งสินค้าผ่านทางไปรษณีย์กับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 1272965523380705
top of page

การส่งสินค้าผ่านทางไปรษณีย์กับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในการก้าวเข้าสู่ยุคระบบดิจิตอลในปัจจุบัน ทำให้ธุรกิจออนไลน์เกิดความเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก มีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่ได้มีการขายสินค้า และส่งสินค้าออกไปให้กับผู้ซื้อ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศ หรือต่างประเทศผ่านทางระบบ "ไปรษณีย์"

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่มักเกิดขึ้นสำหรับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ส่งออก คือ รูปแบบการส่งออกสินค้าที่ส่งผลให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีผู้ประกอบการส่งออกหลายรายไม่ทราบข้อมูลกฏหมายในประเด็นนี้ และมักส่งสินค้าผ่านทางไปรษณีย์ไปยังต่างประเทศ โดยเข้าใจว่าสินค้าที่ส่งออกทุกกรณีได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการส่งออกควรทำความเข้าใจ ในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศผ่านทางไปรษณีย์ ผู้ประกอบการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร นั้นคือ

>> ผู้ประกอบการที่มีหลักฐาน สำเนาใบขนสินค้าขาออก ที่ผ่านพิธีการศุลกากรฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่ามีการตรวจปล่อยสินค้า โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรในนามของผู้ประกอบการ >> หากข้อเท็จจริงพบว่าผู้ประกอบการได้ส่งออกสินค้าทางไปรษณีย์ แต่ไม่มีหลักฐานดังกล่าว จะถือว่าสินค้าที่ส่งนั้นเข้าลักษณะเป็นการขายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร

==> จึงทำให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของมูลค่าสินค้าที่ส่งออก ตามมาตรา 77/2 และ มาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร ==> นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีที่มีรายการตามที่กำหนด ในมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ==> และจัดทำรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากรอีกด้วย

KASME The Institute of Effective Training for SMEs www.kasmethai.com

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page
1272965523380705